Main Menu
BANGKOK PORTAL

  • ไทย
  • Eng

บทความน่ารู้

หอพัก...หึหึ
#สาระน่ารู้ #เตือนภัยช่วงใกล้เปิดเทอมใหม่
ช่วงนี้ ใกล้เปิดภาคเรียนเล้ว พ่อๆแม่ๆ หรือน้องๆ คงกำลังตามหาหอพักที่โดนใจใช่มั้ยคะ
แอดก็เลยมีเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ มาฝากค่ะเผื่อว่าก่อนเซ็นสัญญาใดๆ
จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของหอพักโซแบดเหล่านี้ และเข้าใจสิทธิที่พึงได้ได้อย่างถูกต้อง
แต่ว่าข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีอะไรบ้างนะ ตามไปอ่านกันเลยค่ะ
.
ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิ
เข้าไปภายในอสังหาริมทรัพย์ของผู้เช่าแม้ว่าจะขาดส่งค่าเช่าไปแล้วก็ตาม
กรณีที่ผู้ให้เช่าเข้ามาในอสังหาฯ ที่ผู้เช่าครอบครองอยู่โดยไม่ได้รับคำยินยอมจากผู้เช่านั้น
จะเข้าข่ายการบุกรุก รบกวนการครอบครองอสังหาฯ ของผู้เช่า อาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
รวมไปถึงความรับผิดละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
.
ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิ
ปิดกั้น ใส่กุญแจ ไม่ให้ผู้เช่าเข้าไปในอสังหาฯ ที่เช่าอยู่หรือปิดกั้นด้วยวิธีการต่าง ๆ
เช่น การปิดคล้องกุญแจการใช้บุคคลมาขัดขวาง ไม่ให้ผู้เช่าสามารถเข้าไปภายในห้องเช่าบ้าน ที่ดิน อาคารพาณิชย์
ซึ่งเช่าไว้ได้ ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิที่จะกระทำการเช่นนี้ แม้ว่าผู้เช่าจะติดค้างไม่จ่ายค่าเช่าก็ตาม
หากผู้เช่ากระทำเช่นนี้แล้ว จะมีความผิดในลักษณะเดียวกับประเด็นก่อนหน้า
คือ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานบุกรุก มาตรา 362
และความรับผิดละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
ซึ่งรบกวนสิทธิ การครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เช่า
ยกเว้นนอกจากมีการระบุในสัญญาเช่าให้สิทธิผู้ให้เช่าสามารถกระทำได้
.
ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิ
ไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาฯ ที่เช่าอยู่ทันทีแต่หากเป็นกรณีเช่ารายวันผู้ให้เช่าสามารถทำได้
ส่วนถ้าเป็นรายเดือนนั้นไม่สามารถทำได้ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 560 วรรคสอง วางหลักว่า แต่ถ้าค่าเช่านั้นจะพึงส่งเป็นรายเดือน
หรือส่งเป็นระยะเวลายาวนานกว่ารายเดือนขึ้นไป ผู้ให้เช่าต้องบอกกล่าวแก่ผู้เช่าก่อนว่าให้ชำระค่าเช่าภายในเวลาใด
ซึ่งพึงกำหนดอย่าให้น้อยกว่า 15 วันและให้เวลาผู้เช่าในการย้ายไปยังที่อื่น
.
ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิ
เรียกเอาค่าเช่าจากเงินประกัน และทรัพย์สินของผู้เช่า
ผู้ให้เช่าสามารถหักเอาเงินประกันมาเป็นค่าเช่าที่ค้างชำระอยู่ได้แต่ไม่มีสิทธิที่จะเรียกเอาเงินประกันจากผู้เช่าอีก
เนื่องจากเงินประกันนั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อประกันค่าเช่าแต่เป็นการประกันไว้สำหรับความเสียหายจากการเช่าของผู้เช่า
ที่อาจเกิดแก่อสังหาริมทรัพย์
ส่วนทรัพย์สินของผู้เช่าที่อยู่ในอสังหาริมทรัพย์นั้นผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายหรือนำออกจำหน่าย
หากฝ่าฝืนจะมีความผิดฐานบุกรุก ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362
แต่ในบางกรณีผู้ให้เช่าสามารถหน่วงเหนี่ยวเอาไว้ได้จนกว่าจะมีการจ่ายค่าเช่า หากมีการระบุให้สิทธิผู้ให้เช่าไว้ในสัญญาเช่า
.
นอกจากนี้
การให้เช่าห้อง เกินกว่า 5 ห้อง กฎเรื่องนี้ใช้บังคับกับ "ผู้ประกอบธุรกิจให้เช่า" เท่านั้น ซึ่งอยู่ในการควบคุมของ สคบ.
ผู้ให้เช่าสามารถเรียกเก็บเงินประกันและค่าเช่าล่วงหน้าจากผู้เช่า"รวมกันแล้วได้ไม่เกิน 3 เดือน"
เก็บค่าเช่าห้องได้ไม่เกิน 1 เท่า ของค่าเช่า เมื่ออยุ่ครบ 6 เดือน ก็สามารถบอกเลิกสัญญาเช่า
และขอคืนค่าเช่าห้องล่วงหน้าได้ กรณีทำสัญญาเช่าห้องติดต่อกันเกินกว่า 3 ปี ต้องมีนายทะเบียนเซ็นกำกับในสัญญาด้วย
.
tip การหาหอพัก
นอกจากจะหารีวิวในเว็บอากู๋เเล้ว หอพักของมหาวิทยาลัย ส่วนมากจะโครงการหอพักปลอดภัย
แล้วก็มีแบล็กลิสต์ด้วย นศ.สามารถติดต่อมหาวิทยาลัยเพื่อขอรับข้อมูลได้นะ
.
อย่ากลัวว่า จะไม่มีหอพัก ให้กลัวเถอะว่า ถ้าจะได้ #หอพักหึหึ...ขึ้นมา
ไมเกรนขึ้นแน่นวลลลลล
เล่าคุ้มเวลาแแล้ว.....บรัยส์ส์
.
#กฎหมาย #คุ้มครองผู้เช่า #พ.ร.บ.หอพัก ปี 58 #หอพัก